ถ้าบุคคลมีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะที่เหมาะสม กับตำแหน่ง/หน่วยงาน/ระดับ ตรงตามที่องค์การคาดหวัง
วัตถุประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร 1. การทำงานในตำแหน่ง/หน่วยงาน/ระดับนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ พันธกิจ และประเด็นยุทธศาสตร์ได้เป็นอย่างดี 2. องค์การสามารถถึงสมรรถนะจากบุคลากรมาใช้ได้อย่างเต็มที่
ขั้นตอนของ Competency (The Process of Competency) 1. การวิเคราะห์ Competency (Competency Analysis) 2. ประเภทของ Competency (Competency Formulation) 3. การพัฒนา Competency (Competency Development) 4. การประเมินผลและติดตาม (Competency Assessment)
ประเภทของ Competency 1. สมรรถนะหลัก (Core Competency) เป็นสมรรถนะที่ต้องมี เช่น Service Mind การทำงานเป็นทีม จิตสำนึกในคุณภาพ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 2. สมรรถนะการบริหาร (Managerial Competency) เป็นสมรรถนะที่ผู้บริหารทุกระดับจะต้องมี เช่น ความมีวิสัยทัศน์ ความเป็นผู้นำ ความสามารถในการวางแผน ผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3. สมรรถนะที่เกี่ยวกับงาน/ประจำกลุ่มงาน (Functional Competency) เป็นสมรรถนะในตำแหน่งงาน/กลุ่มงานหนึ่ง ๆ ที่จะต้องมี
1. สมรรถนะหลัก (Core Competency) สมรรถนะหลัก คือ คุณลักษณะร่วมของข้าราชการพลเรือนไทยทั้งระบบ เพื่อหล่อหลอมค่านิยมและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ร่วมกัน ประกอบด้วยสมรรถนะ 5 สมรรถนะ คือ 1.1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation) 1.2 บริการที่ดี (Service Mind) 1.3 การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (Expertise) 1.4 จริยธรรม (Integrity) 1.5 ความร่วมแรงร่วมใจ (Teamwork)
2. สมรรถนะการบริหาร (Managerial Competency) 2.1 สำหรับผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากลุ่ม หัวหน้างาน 1) วิสัยทัศน์ 2) การควบคุมตนเอง 3) การให้อำนาจแก่ผู้อื่น 4) การวางกลยุทธ์ภาครัฐ 5) มีศักยภาพเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง 2.2 Managerial Competency สำหรับผู้บริหารระดับสูง แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้ดังนี้ 1) การบริหารคน 1.1) การปรับตัวและความยืดหยุ่น (Adaptability and Flexibility) 1.2) ทักษะในการสื่อสาร (Communication) 1.3) การประสานสัมพันธ์ (Collaborativeness) 2) ความรอบรู้ในการบริหาร 2.1) การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Managing Change) 2.2) การมีจิตมุ่งบริการ(Customer Service Orientation) 2.3) การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) 3) การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ 3.1) รับผิดชอบตรวจสอบได้ (Accountability) 3.2) การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ (Achieving Result) 3.3) การบริหารทรัพยากร (Managing Resources) 4) การบริหารอย่างมืออาชีพ 4.1) การตัดสินใจ (Decision Making) 4.2) การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) 4.3) ความเป็นผู้นำ (Leadership)
3. สมรรถนะที่เกี่ยวกับงาน/ประจำกลุ่มงาน (Functional Competency) สมรรถนะประจำกลุ่มงาน คือ สมรรถนะที่กำหนดเฉพาะสำหรับกลุ่มงานเพื่อสนับสนุนให้ข้าราชการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมแก่หน้าที่ โดยให้แต่ละกลุ่มงานมีสมรรถนะประจำกลุ่มงาน ๆ ละ 3 สมรรถนะ สมรรถนะประจำกลุ่มงานมีทั้งหมด 20 สมรรถนะ ด้วยกัน คือ 3.1 การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) 3.2 การมองภาพองค์รวม (Conceptual Thinking) 3.3 การพัฒนาศักยภาพคน (Caring & Developing Others) 3.4 การสั่งการตามอำนาจหน้าที่ (Holding People Accountable) 3.5 การสืบเสาะหาข้อมูล (Information Seeking) 3.6 ความเข้าใจข้อแตกต่างทางวัฒนธรรม (Cultural Sensitivity) 3.7 ความเข้าใจผู้อื่น (Interpersonal Understanding) 3.8 ความเข้าใจองค์การและระบบราชการ (Organization Awareness) 3.9 การดำเนินการเชิงรุก (Proactiveness) 3.10 ความถูกต้องของงาน (Concern for Order) 3.11 ความมั่นใจในตนเอง (Self Confidence) 3.12 ความยืดหยุ่นผ่อนปรน (Flexbility) 3.13 ศิลปะการสื่อสารจูงใจ (Communication & Influencing) 3.14 ภาวะผู้นำ (Leadership) 3.15 สุนทรียภาพทางศิลปะ (Aesthetic Quality) 3.16 วิสัยทัศน์ (Visioning) 3.17 การวางกลยุทธ์ภาครัฐ (Strategic Orientation) 3.18 ศักยภาพเพื่อนำการปรับเปลี่ยน (Change Leadership) 3.19 การควบคุมตนเอง (Self Control) 3.20 การให้อำนาจแก่ผู้อื่น (Empowering Others)
|