|
การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)
การจัดการภาครัฐแนวใหม่หรือ New Public Management กล่าวได้ว่าเป็นพาราไดม์ (Paradigm) ที่สำคัญที่นักวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ให้การยอมรับในปัจจุบันว่าเป็นกรอบแนวคิดที่ถูกนำมาใช้ในการบบริหารภาครัฐในปัจจุบัน ได้เป็นอย่างดี โดยที่แนวคิดการบริหารการจัดการภาครัฐแนวใหม่ถูกมองว่าเป็นปรัชญาการบริหารที่รัฐบาลนำมาใช้ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อให้การบริหารภาครัฐมีความทันสมัย(New Public Management is a management philosophy used by Governments since the 1980s to modernise the Public Sector) (Wikipedia Encyclopedia ค้นคืนใน http://en.wikipedia.org/wiki/ New_Public_Management) และถ้าจะกล่าวถึงสาระสำคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่นี้แล้วนักวิชาการคนที่สำคัญแรกๆ ที่ได้กล่าวถึงไว้ก็คือ โจนาธาน บอสตัน (Jonathan Boston) และคณะได้สรุปให้เห็นสาระสำคัญของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ไว้ ดังต่อไปนี้ (Boston 1996)
|
อ่านเพิ่มเติม...
|
เป็นเครื่องมือทางการบริหารที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย โรเบิร์ต เอส แคปแลน และ เดวิด พี นอร์ตัน (Robert S. Kaplan and David P. Norton) ในปี ค.ศ. 1996 เนื่องจากเขาเห็นว่าองค์การสมัยใหม่จะต้องการบริหารในเชิงกลยุทธ์ โดยจะเป็นองค์การที่ใช้เครื่องมือ Balanced Scorecard ในการวางกลยุทธ์ในจุดที่เป็นศูนย์กลางของกระบวนการจัดการในองค์การ ซึ่งศูนย์กลางของกระบวนการจัดการในองค์การใน มุมมองของ แคปแลนและนอร์ตัน ก็คือ คุณค่าสี่ประการที่องค์การจะต้องใช้เป็นกรอบเพื่อนำไปใช้ในการตอบสนองต่อกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ที่องค์การได้กำหนดขึ้น คือ คุณค่าด้านการเงิน (Finance) คุณค่าด้านลูกค้า (Customer) คุณค่าด้านกระบวนการ (Internal Process) และ คุณด่าด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning&Growth)
เป็นเครื่องมือการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Robert S.Kaplan and David P. Norton จุดประสงค์ คือ มุ่งให้องค์กรสมัยใหม่เป็นองค์กรเชิงกลยุทธ์ (Strategic Organization) ด้วยการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย และแผนงาน โครงการ (Initiative) ที่ส่งต่อกันอย่างเป็นระบบ ภายใต้ความสมดุลของคุณค่าหรือมุมมอง 4 ด้าน คือ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการ และด้านนวัตกรรมและการเรียนรู้
|
อ่านเพิ่มเติม...
|
|
- การคิดอย่างเป็นระบบสำหรับนักบริหาร
1. Visionary Thinking (การคิดแบบมีวิสัยทัศน์) = ฝันให้ไกล ไปให้ถึง หลักการ 1) หมั่นค้นหาโอกาสเยอะ ๆ (O=Opportunity) ฝันให้ไกล 2) ตกผลึกเป็น New Idea 3) หมั่นคิด How to's (วิธีการในการทำ) ไปให้ถึง 2. Out-of-the-Box Thinking การคิดนอกกรอบ เป็นการคิดออกไปหามุมใหม่ที่แตกต่างและดีขึ้นจากของเดิม มีความสำคัญต่อทุกองค์การในปัจจุบัน ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการแข่งขันระหว่างองค์การมีสูงขึ้น วิธีเดียวที่ทำให้องค์การมีนวัตกรรม (Innovation) ใหม่ๆ เกิดขึ้น ก็คือ การสอนให้ผู้บริหารและพนักงานรู้จักวิธีการคิดนอกกรอบ หลักการ 1) คิดแบบไร้กรอบ (Borderless) 2) คิดแบบคนนอก (Outsider) 3) หมั่นเรียนรู้สิ่งที่ดีจากภายนอก
|
อ่านเพิ่มเติม...
|
เขียนโดย Administrator
|
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA : Public Sector Management Quality Award)
จุดเริ่มต้นของแนวคิดของ “การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ”
จุดเริ่มต้นของการนำแนวคิดของ “การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ” มาใช้นั้น กล่าวได้ว่า อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยที่ ก.พ.ร.ได้ร่วมมือกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติในการจัดทําหลักเกณฑ์และแนวทางการยกระดับและพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และได้นําแนวคิดดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติเห็นชอบการนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2548 โดยมีวัตถุประสงค์ของการดําเนินการ ดังนี้
1) เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐให้สอดคล้องกับ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
2) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนําไปใช เป็นแนวทางในการยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานไปสู่ ระดับมาตรฐานสากล
3) เพื่อให้เป็นกรอบในการประเมินตนเองเพื่อพัฒนาองค์การและเป็นฐานสําหรับใช้ประโยชน์ในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ
|
อ่านเพิ่มเติม...
|
|
|
|
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 ถัดไป > สุดท้าย >>
|
หน้า 1 จาก 2 |